ซิมโฟนีหมายเลข 2 (มาห์เลอร์)
ซิมโฟนีหมายเลข 2 (มาห์เลอร์)

ซิมโฟนีหมายเลข 2 (มาห์เลอร์)

ซิมโฟนีหมายเลข 2 ผลงานประพันธ์ของกุสตาฟ มาห์เลอร์ เป็นที่รู้จักในชื่อ "การฟื้นคืนชีพ" (Resurrection) ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1888 ถึง ค.ศ. 1894 จัดแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1894 เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จและได้รับคำชื่นชมในขณะที่มาห์เลอร์ยังมีชีวิตอยู่ รองมาจากซิมโฟนีหมายเลข 8 ของเขาในปี ค.ศ. 1888 มาห์เลอร์ได้แต่งซิมโฟนิกโพเอ็มขึ้นมาบทหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Totenfeier (Funeral Rites, งานศพ) พร้อมกับร่างบทร่างของมูฟเมนต์ที่สอง จากนั้นได้ละทิ้งงานชิ้นนี้ไปถึงห้าปี จนถึงปี 1893 จึงกลับมาเขียนมูฟเมนต์ที่สองและสามต่อ [1] มาห์เลอร์ใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานหลายเดือน ว่าจะจบซิมโฟนีของเขาอย่างไร และเลือกจะใช้การร้องประสานเสียง ในรูปแบบเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟน [1]ในขณะนั้นมาห์เลอร์ร่วมงานและสนิทสนมกับฮานส์ ฟอน บือโลว์ (1830–1894) เมื่อบือโลว์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1894 มาห์เลอร์ไปร่วมพิธีศพและได้ฟังบทเพลงฮิมน์ของฟรีดิช ก็อตเลียบ คล็อปสต็อก (1724–1803) ชื่อ "Die Auferstehung" (The Resurrection, การฟื้นคืนชีพ) ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการประพันธ์ท่อนจบของซิมโฟนี มาห์เลอร์นำผลงานของคล็อปสต็อกมาตัดแปลง และเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการไถ่บาป (redemption),การฟื้นคืนชีพ (resurrection) และชีวิตหลังความตาย [1]ซิมโฟนีหมายเลข 2 ของมาห์เลอร์ มีความยาวประมาณ 80 ถึง 90 นาที ประกอบด้วย 5 มูฟเมนต์

ใกล้เคียง

ซิมโฟนีหมายเลข 5 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 3 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 6 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 6 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 1 (ชูมัน) ซิมโฟนีหมายเลข 1 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 7 (เบทโฮเฟิน) ซิมโฟนีหมายเลข 2 (ไชคอฟสกี) ซิมโฟนีหมายเลข 41 (โมทซาร์ท)